ระบบย่อยอาหาร‎

1.1 ส่วนประกอบและหน้าที่

ระบบย่อยอาหารของคนประกอบด้วยอวัยวะ ดังต่อไปนี้

 

1. อวัยวะที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการย่อยอาหาร ได้แก่

     1.1 ตับ มีหน้าที่สร้างน้ำดีส่งไปเก็บที่ถุงน้ำดี  เพื่อช่วยให้ไขมันแตกตัว

     1.2 ตับอ่อน มีหน้าที่สร้างเอนไซม์ส่งไปย่อยอาหารที่ลำไส้เล็ก  ได้แก่ ทริปซิน   อะไมเลส  ไลเปส

     1.3 ลำไส้เล็ก สร้างเอนไซม์มอลเทส ซูเครส และแล็กเทส ย่อยอาหารประเภทน้ำตาลที่ลำไส้เล็ก

 

 2. อวัยวะที่เป็นทางเดินอาหาร ทำหน้าที่ในการรับและส่งอาหาร โดยเริ่มจาก

ปาก -->คอหอย --> หลอดอาหาร --> กระเพาะอาหาร --> ลำไส้เล็ก --> ลำไส้ใหญ่ --> ทวารหนัก

 

 

     2.1 ปาก ( mouth )  มีการย่อยเชิงกล โดยการบดเคี้ยวของฟัน และมีการย่อยทางเคมีโดยเอนไซม์อะไมเลสหรือไทยาลีน ซึ่งทำงานได้ดีในสภาพที่เป็นเบสเล็กน้อย

                       แป้ง  +  enz. อะไมเลส      ------>        น้ำตาลมอลโตส

 

 

          เอนไซม์อะไมเลส  ผลิตจาก  ต่อมน้ำลาย  ( Salivary gland )       ต่อมน้ำลายมี   3 คู่     ได้แก่      ต่อมน้ำลายใต้ลิ้น 1 คู่  ต่อมน้ำลายใต้ขากรรไกรล่าง 1  คู่   และต่อมน้ำลายใต้กกหู  1 คู่   ต่อมน้ำลายจะผลิตน้ำลายได้วันละ 1 1.5 ลิตร

 

      2.2 คอหอย  ( pharynx)      เป็นทางผ่านของอาหาร ซึ่งไม่เกิดการย่อยใดๆ ทั้งสิ้น

 

      2.3 หลอดอาหาร ( esophagus)  มีลักษณะเป็นกล้ามเนื้อเรียบมีการย่อยเชิงกลโดยการบีบตัวของกล้ามเนื้อทางเดินอาหาร เป็นช่วงๆ เรียกว่า เพอริสตัสซิส  ( peristalsis)”  เพื่อให้อาหารเคลื่อนที่ลงสู่กระเพาะอาหาร

 

     2.4 กระเพาะอาหาร ( stomach)  มีการย่อยเชิงกลโดยการบีบตัวของกล้ามเนื้อทางเดินอาหารและมีการย่อยทางเคมีโดยเอนไซม์เพปซิน (pepsin) ซึ่งจะทำงานได้ดีในสภาพที่เป็นกรด  โดยชั้นในสุดของกระเพาะจะมีต่อมสร้างน้ำย่อยซึ่งมีเอนไซม์เพปซินและกรดไฮโดรคลอริก เป็นส่วนประกอบเอนไซม์เพปซินจะย่อยโปรตีนให้เป็นเพปไทด์ (peptide)ในกระเพาะอาหารนี้ยังมีเอนไซม์อยู่อีกชนิดหนึ่งชื่อว่า  เรนนิน '' ทำหน้าที่ย่อยโปรตีนในน้ำนม ในขณะที่ไม่มีอาหาร กระเพาะอาหารจะมีขนาด 50  cm3แต่เมื่อมีอาหารจะมีการขยายได้อีก 10 – 40 เท่า

 

 

                                   โปรตีน + enz เพปซิน      ------>      เพปไทด์

 

รูปแสดง  กระเพาะอาหาร

 

     2.5 ลำไส้เล็ก ( small intestine)   เป็นบริเวณที่มีการย่อยและการดูดซึมมากที่สุด โดยเอนไซม์ในลำไส้เล็กจะทำงานได้ดีในสภาพที่เป็นเบส ซึ่งเอนไซม์ที่ลำไส้เล็กสร้างขึ้น ได้แก่

     1.   มอลเทส(maltase) เป็นเอนไซม์ที่ย่อยน้ำตาลมอลโทสให้เป็นกลูโคส

     2.   ซูเครส(sucrase)  เป็นเอนไซม์ที่ย่อยน้ำตาลทรายหรือน้ำตาลซูโครส(sucrose)ให้เป็นกลูโคสกับฟรักโทส(fructose)

     3.   แล็กเทส(lactase) เป็นเอนไซม์ที่ย่อยน้ำตาลแล็กโทส ( lactose) ให้เป็นกลูโคสกับกาแล็กโทส (galactose)

 

การย่อยอาหารที่ลำไส้เล็กใช้เอนไซม์จากตับอ่อน ( pancreas) มาช่วยย่อย  เช่น

     ทริปซิน  ( trypsin)     เป็นเอนไซม์ที่ย่อยโปรตีน  และ เพปไทด์ให้เป็น กรดอะมิโน

     อะไมเลส  ( amylase)  เป็นเอนไซม์ที่ย่อยแป้งให้เป็นน้ำตาลมอลโทส

    ไลเปส  ( lipase)        เป็นเอนไซม์ที่ย่อยไขมันให้เป็นกรดไขมันและกลีเซอรอล

 

 

ให้นักเรียนพิจารณาข้อสรุปการย่อยอาหารในลำไส้เล็กต่อไปนี้ เพื่อให้เกิดความเข้าใจมากขึ้

 

คาร์โบไฮเดรต

 

                        แป้ง + enz. อะไมเลส    ------>    น้ำตาลมอลโทส

                 น้ำตาล มอลโทส + enz.  มอลเทส  ------>     กลูโคส   +   กลูโคส

                 น้ำตาลซูโครส   + enz.  ซูเครส   ------>      กลูโคส   + ฟรุกโทส

                 น้ำตาลแล็กเทส   + enz.  แล็กเทส ------>      กลูโคส  +   กาแล็กโทส

 

ไขมัน  

 

      ไขมัน + น้ำดี     ------>   ไขมันก้อนเล็ก + enz. ลิเพส    ------>   กรดไขมัน+ กลีเซอรอล

 

โปรตีน

         เพปไทด์+ enz.   ทริปซิน  ------> กรดอะมิโน

 

 

 น้ำดี    ( bile)  เป็นสารที่ผลิตมาจากตับ (liver) แล้วไปเก็บไว้ที่ถุงน้ำดี (gall bladder) น้ำดีไม่ใช่เอนไซม์เพราะไม่ใช่สารประกอบประเภทโปรตีน น้ำดี   ทำหน้าที่  ย่อยโมเลกุลของไขมันให้เล็กลงเพื่อให้น้ำย่อยจากตับอ่อน ( เอนไซม์ไลเพส ) ย่อยต่อ ทำให้ได้อนุภาคที่เล็กที่สุดที่สามารถแพร่เข้าสู่เซลล์

 

การดูดซึมอาหาร   หมายถึง   ขบวนการนำอาหารที่ผ่านกระบวนการย่อยจนได้เป็นสารโมเลกุลเดี่ยว เช่น กลูโคส กรดอะมิโน  กรดไขมัน  กลีเซอรอล ผ่านผนังทางเดินอาหารเข้าสู่กระแสเลือดเพื่อนำไปสู่ส่วนต่างๆของร่างกาย

 

 การดูดซึมสารอาหารที่ลำไส้เล็ก

 

    ลำไส้เล็ก เป็นบริเวณที่ดูดซึมอาหารส่วนใหญ่ เพราะ เป็นบริเวณที่มีการย่อยอาหารเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์ และโครงสร้างภายในลำไส้เล็กเหมาะแก่การดูดซึม คือ ผนังด้านในของลำไส้เล็กจะไม่เรียบ  มีส่วนยื่นของกลุ่มของเซลล์ที่เรียงตัวเป็นแถวเดียวมีลักษณะคล้ายนิ้วมือ เรียกว่า วิลลัส (Villus) เป็นจำนวนมาก ในแต่ละเซลล์ของวิลลัสยังมีส่วนยื่นของเยื่อหุ้มเซลล์ออกไปอีกมากมาย เรียกว่า ไมโครวิลลัส (Microvillus)     ในคน มีวิลลัสประมาณ   20-40 อัน ต่อพื้นที่  1 ตารางมิลลิเมตรหรือประมาณ  5 ล้านอัน ตลอดผนังลำไส้ทั้งหมด     ซึ่งวิลลัสนี้  ทำหน้าที่เพื่มพื้นที่ในการดูดซึมสารอาหาร

 

 

2.6 ลำไส้ใหญ่  ( Colon ) เป็นอวัยวะที่อยู่ในระบบทางเดินอาหาร ลำไส้ใหญ่ของคนมีความยาวประมาณ 1.5 เมตร  เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 6 เซนติเมตร 

 

หน้าที่ของลำไส้ใหญ่

1. ช่วยย่อยอาหารเพียงเล็กน้อย

2. ถ่ายระบายกากอาหาร  (Wastse product)  ออกจากร่างกาย

3. ดูดซึมน้ำและอิเล็คโตรลัยต์จากอาหารที่ถูกย่อยแล้ว เช่น โซเดียม และเกลือแร่อื่น ๆ ที    เหลืออยู่ในกากอาหาร รวมทั้งวิตามินบางอย่างที่สร้างจากแบคทีเรีย ซึ่งอาศัยอยู่ในลำไส้ใหญ่ ได้แก่  วิตามินบีรวม วิตามินเค ด้วยเหตุนี้จึงเป็นหนทางสำหรับให้น้ำ อาหารและยาแก่ผู้รับบริการทางทวารหนักได้

          4. ทำหน้าที่เก็บอุจจาระไว้จนกว่าจะถึงเวลาอันสมควรที่จะถ่ายออกนอกร่างกาย