ระบบไหลเวียนโลหิต(Circulatory system)
หน้าที่
1. นำอาหารและก๊าซ O2 ไปยังเซลล์ และ CO2 ไปปอด
2. ควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย
3. ควบคุมนํ้าและอิเล็กโทรไลต์
4. กำจัดของเสีย
5. เป็นภูมิคุ้มกัน
6. ลำเลียง ฮอร์โมน
มี 2 ประเภท
1. ระบบหมุนเวียนโลหิตแบบปิด (Closed circulatory system)
- พบในสัตว์พวก Annelids, ปลาหมึก และสัตว์มีกระดูกสันหลัง
- ระบบหมุนเวียนเลือดแบบนี้จะมีเลือดอยู่ในหลอดเลือดตลอดเวลา
- จะพบหลอดเลือดฝอย (capillary)
- ของเหลวในหลอดเลือดจะเรียกว่า เลือด(Blood) นอกหลอดเลือดเรียกว่า นํ้าเหลือง(Lymph)
2. ระบบหมุนเวียนโลหิตแบบเปิด (Opened circulatory system)
- พบในสัตว์พวก Arthropod , หอย , ลิ่นทะเล และ Echinoderm
- ระบบหมุนเวียนเลือดแบบนี้เลือดจะมีการตเปิดช่องบรรจุเลือด เรียกว่า Hemocoel
- ของเหลวทั้งหมดจะปะปนกันเรียกว่า Hemolymph
Phylum arthropod
1. แมลง
แมลงมีระบบหมุนเวียนเลือดแบบวงจรเปิด ซึ่งประกอบด้วยส่วนต่างๆดังนี้ หัวใจ (heart) เป็นส่วนของเส้นเลือด มีลักษณะโป่งออกเป็นตอนๆ มีรูเล็กๆ หัวใจทำ หน้าที่สูบฉีดเลือดไปทางด้านหัวไปสู่เนื้อเยื่อต่างๆ ซึ่งมีลิ้นคอยปิดเปิดอยู่ด้วย เรียกรูนี้ว่า ออสเทีย (oistia) ทำหน้าที่รับเลือดจากส่วนต่างๆในลำตัวไหลเข้าสู่หัวใจ และลิ้นภายในออสเทียกั้นมิให้เลือดไหลออกจากหัวใจ
เลือด (hemolymph) เลือดของแมลงไม่มีสีหรือมีสีฟ้าอ่อนๆ เพราะไม่มีฮีโมโกลบิน มีแต่ ฮีโมไซยานิน (hemocyanin) ที่มีทองแดง (Cu) เป็นองค์ประกอบ เส้นเลือด (blood vessel) มีอยู่เส้นเดียวเหนือทางเดินอาหาร ไม่มีเส้นเลือดฝอย ทำหน้าที่รับเลือดออกจากร่างกาย ช่องว่างภายในลำตัว ฮีโมซีล (hemoceol) ทำหน้าที่รับเลือดจากเส้นเลือด เพื่อลำเลียงสารไปสู่ส่วนต่างๆของร่างกาย และเป็นแหล่งแลกเปลี่ยนก๊าซ
2. กุ้ง (Prawn)
จัดเป็นพวกอาร์โทพอด มีระบบหมุนเวียนเลือดแบบวงจรเปิดเช่นเดียวกับแมลง แต่มีความแตกต่างจากแมลงคือ คือกุ้งมีหัวใจอยู่ทางด้าน หัวเพียงตำแหน่งเดียวและมีเส้นเลือดแดงเท่านั้นที่ไหลผ่านหัวใจ ส่วนเส้นเลือดดำไหลผ่านเหงือก และจะมีการแลกเปลี่ยนก๊าซ
Phylum annelid
- ระบบหมุนเวียนเลือดแบบปิด
- หัวใจเทียม (pseudoheart) เป็นห่วงเส้นเลือดที่พองออกและโอบรอบหลอดอาหาร 5 ห่วง หัวใจทั้ง 5 ห่วงจะเชื่อมต่อกับเส้น เลือดด้านบนและด้านล่าง
- เส้นเลือด (blood vessel) เส้นเลือดด้านบนของลำตัว หลอดเลือดด้านบน
(dorsal blood vessel)ทำหน้าที่นำเลือดกลับเข้าสู่หัวในเส้นเลือดด้านล่างของลำตัว
หลอดเลือดด้านล่าง (ventral blood vessel) ทำหน้าที่รับเลือดจากหัวใจไปเลี้ยง ส่วนต่างๆของร่างกาย
- เส้นเลือดฝอย (carpillary) มีผนังบางมากกระจายอยู่ทั่วไป ของร่างกาย ทำหน้าที่แลกเปลี่ยน สารที่อยู่ภายในเลือดกับเซลล์
- เลือด (blood) มีสีแดง เพราะมีฮีโมโกลบินที่มีธาตุเหล็กเป็นองค์ประกอบ
ระบบหมุนเวียนเลือดของหอยกาบ
หอยฝาเดียวเป็นพวกระบบเลือดเปิด และมีช่องว่างให้เลือดผ่าน เรียก ไซนัส ( Sinus ) เลือดของหอยกาบไม่มีสี หรือมีสีฟ้าของฮีโมไซยานินในนํ้าเลือดส่วนเม็ดเลือดไม่มี การหมุนเวียนเลือดของหอยกาบเริ่มจากเลือดที่มีออกซิเจนสูงจากเมนเทิล ไหลเข้าสู่หัวใจห้อง
เอเตรียมและเวนตริเคิลตามลำดับต่อจากนั้นเวนตริเคิล จะส่งเลือดไปส่วนทางหน้าของ
เอนทีเรียเอออร์ตาและส่วนหลังทางโพสทีเรียเออร์ตา ของลำตัวเพื่อเลี้ยงส่วนต่างๆของหอย เลือดที่ใช้แล้วจากส่วนเท้า และอวัยวะภายในจะเข้าสู่วีนาคาวาไปสกัดของเสียที่ไตแล้วถูกลำเลียงไปฟอกที่เหงือกแล้วไหลกลับเข้าสู่เอเตรียมพร้อมกับเลือดที่ฟอกแล้วที่เมนเทิล
ระบบหมุนเวียนเลือดของปลา
ปลามีระบบหมุนเวียนเลือดแบบวงจรปิด ซึ่งประกอบด้วยหัวใจ (heart) มี 2 ห้อง คือ
หัวใจห้องบน (atrium) ทำหน้าที่รับเลือดที่มีก๊าซออกซิเจนตํ่าจากร่างกาย แล้วเข้าสู่หัวใจห้องล่าง
หัวใจห้องล่าง (ventricle) ทำหน้าที่สูบฉีดเลือดที่มีก๊าซออกซิเจนตํ่าไปยังเหงือก กล้ามหนาบีบตัววได้แรง
หลอดเลือด (blood vessel) เป็นหลอดเลือดปิด เลือดไหลในหลอดเลือดเท่านั้น ประกอบด้วยเส้นเลือดเวน กับอาร์เทอรี ออกซิเจนต่างกัน หากศึกษาจากด้านหางปลาพบว่าเส้นเลือดอาร์เทอรี จะไหลจากด้านโคนหางไปยังปลายหาง เวนสลับทิศกัน
เลือด (blood) เป็นสีแดงเม็ดเลือดแดงมีนิวเคลียส ไหลเวียนมายังแอ่งรับเลือด(sinus venosus) ไหลเวียน 1 ครั้งผ่านหัวใจ 1 รอบ มีเส้นเลือดดำเท่านั้นที่ไหลผ่านหัวใจ -ปลามีหัวใจ 2 ห้อง (1atrium, 1 ventricle) -ventricle ปั๊มเลือดออกจากหัวใจสู่เหงือก (gill circulation) -มีการแลกเปลี่ยนแก๊สที่เหงือก -gill capillary นำเลือดที่มี O2สูงไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย(systemic circulation) -vein นำเลือดกลับหัวใจ -เนื่องจากเลือดไหลจาก gill capillary สู่ systemic circulationโดยตรง ดังนั้นความดันเลือดจะค่อยๆลดลง เลือดจึงไหลช้าลง
สัตว์ครึ่งบกครึ่งนํ้า
สัตว์ครึ่งนํ้าครึ่งบกมีหัวใจ 3 ห้อง หัวใจห้องบนหรือเอเตรียมแบ่งออกเป็น 2 ห้อง คือ ห้องซ้ายและห้องขวา ส่วนเวนตริเคิลหรือห้องล่างมีเพียงห้องเดียวเลือดที่ไหลกลับมาจากส่วนต่างๆของร่างกายเป็นเลือดที่มีออกซิเจนน้อยเข้าสู่ห้องบนขวาหรือเอเตรียมขวา ส่วนเลือดที่ได้รับออกซิเจนจากการแลกเปลี่ยนแก๊สที่ปอดหรือผิวหนังจะเข้าสู่หัวใจห้องเอเตรียมซ้าย เมื่อเลือดไหลลงสู่เวนตริเคิลบางส่วนของเลือดจะปะปนกันเมื่อเวนตริเคิลบีบตัวเลือดดีจะไหลไปเลี้ยงส่วนหัว
ระบบไหลเวียนเลือดในกบ
-กบมีหัวใจ 3 ห้อง (2 atria, 1 ventricle)
-ventricleปั๊มเลือดออกจากหัวใจทางเส้นเลือดartery จากนั้นจะแยกออกเป็น 2 เส้น
-เส้นที่หนึ่งนำเลือดไปฟอกที่ปอดและผิวหนังเรียกวงจรนี้ว่า pulmocutaneous
(lung and skin) circulation
-อีกเส้นหนึ่งนำเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายเรียกว่า systemic circulation
-รวมเรียกทั้งสองวงจรนี้ว่า double circulation
-เนื่องจากเลือดที่ไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายถูกปั๊มออกจากหัวใจโดยตรง
ดังนั้นแรงดันเลือดจึงสูงกว่า Single circulation
-ventricleมี1 ห้อง จึงมีการปนกันของเลือด oxygen-rich และ oxygen-poor blood
-แต่ในventricleก็มีเยื่อกั้นบ้าง ดังนั้น oxygen-rich blood ส่วนมาก (จากatriumซ้าย)
จะถูกปั๊มสู่
- Systemic circulation และoxygen-poor blood ส่วนมาก (จากatriumขวา) จะถูกปั๊มสู่
pulmocutaneous circulation
นกและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนํ้านม
นกและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนํ้านมมีหัวใจ 4 ห้องสมบูรณ์ คือ เอเตรียม 2 ห้องและ เวนตริเคิล 2 ห้อง เลือดดีจะเข้าเอเตรียมซ้ายไปสู่เวนตริเคิลซ้ายออกไปเลี้ยงร่างกาย ส่วนเลือดเสียจะเข้าเอเตรียมขวาลงสู่เวนตริเคิลขวาไปฟอกที่ปอดให้เป็นเลือดดีกลับเข้าเอเตรียมซ้ายอีก
ระบบไหลเวียนเลือดในสัตว์เลื้อยคลาน นก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
-สัตว์เลื้อยคลานมีหัวใจ 3 ห้อง(ยกเว้นจระเข้) โดยหัวใจห้อง ventricle เริ่มมีผนังกั้น แต่ไม่สมบูรณ์
-จระเข้ นกและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมีหัวใจ 4 ห้อง
-การไหลเวียนเลือดแบ่งเป็น 2 วงจร คือ pulmonary และ systemic circulation
-หัวใจด้านซ้าย รับ-ปั๊มเลือดที่มีออกซิเจนสูง
-หัวใจด้านขวา รับ-ปั๊มเลือดที่มีออกซิเจนตํ่า